โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ

โรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจของแมวหรือที่เรียกว่าโรคหวัดแมว (cat flu)
สพ.ญ ฉัตรสุดา ชุมเกษียร
เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งเป็นไวรัสจําเพาะในแมวได้แก่ Feline Viral Rhinotracheitis Virus (FVRC) หรือ Feline Herpesvirus (FHV) และ Feline Calici Virus (FCV)
นอกจากนี้ยังอาจมีการติดเชื้ออื่นๆ ร่วมด้วยเช่น Bordetella หรือ Clamydia ซึ่งจะทําให้แมวแสดงอาการรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะในลูกแมวและแมวท ี่อ่อนแอ

โดยทั่วไปมีไวรัส 2 ชนิด เมื่อแมวได้รับเชื้อและจะมีการอาการหวัด โดยการแยกอาการของการติดเชื้อไวรัสสองตัวนี้อย่างคร่าวๆ คือ การสังเกตได้จากอาการซึ่งไวรัส FCV จะไม่ค่อยมีอาการที่ตาและจมูก แต่อย่างไรก็ตามแมวสามารถมีการติดเชื้อร่วมกันของไวรัสทั้ง 2ชนิดนี้ได้ ซึ่งจะยิ่งทําให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้นไปอีก

Feline Viral Rhinotracheitis (FVRV)หรือ Feline Herpesvirus (FHV)  โรคนี้จะพบได้บ่อย ในกลุ่มแมวที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนอัตราการติดโรคอาจสูงถึง 100 %    แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วอัตราการตายจะไม่สูงมากแต่ว่ามีโอกาสที่จะสูงถึง 30 %ได้ในลูกแมวที่เครียดหรือมีโรคอื่นแทรกซ้อน

อาการที่พบ

หลังจากแมวได้รับเชื้อ FVRV เชื้อจะมีระยะฟักตัวประมาณ 2 ถึง 10 วัน โดยจะทําให้แมวมีอาการอักเสบที่ตาจมูกหลอดลมซึ่งทําให้แมวมีน้ำ ตาไหลมีน้ำมูกและเสมหะนอกจากนี้ยังทําให้แมวมีอาการซึมหายใจลําบากเป็นไข้ไอจามและเบื่ออาหาร

ในกรณีที่มีเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยนั้นจะ ทําให้น้ำมูกข้นเหนียว จนเป็นหนองอาจพบแผลหลุมเป็นวงๆ บนลิ้นทําให้แมวเจ็บมากจนไม่อยากกินอาหาร อาการอาจรุนแรงมากถึงขั้นเกิดปอดบวมและเยื่อหุ้มปอดอักเสบและทําให้เสียชีวิตได้

Feline Calici Virus (FCV) ไวรัสชนิดนี้ทําให้เกิดอาการน้ำมูกไหล ไอจามแต่อาจแสดงอาการรุนแรงมากกว่านั้นได้ สําหรับอาการที่เด่นชัดที่สุดคือแผลหลุมบนลิ้นจะทําให้มีน้ำลาย ไหลยืดตลอดเวลาแผลในช่องปากจะทําให้แมวกินอาหารลําบากความอยากอาหารลดลงทําให้อาการทรุดลงเร็ว

การติดต่อของโรค

การติดต่อของแมวเกิดจากแมวได้รับการสูดดมเชื้อไวรัสที่กระจายใน อากาศจากแมวที่ติดเชื้อ  หรือมีการสัมผัสกับแมวที่ติดเชื้อโดยตรง ซึ่งพบได้บ่อยในบริเวณที่มีแมวอยู่รวมกันมากในกรณีที่แมวป่วยแล ะหายจากโรคแล้วนั้นสามารถเป็นพาหะนําโรคได้ต่อไป

การดูแลและป้องกัน

สิ่งแรกที่ต้องทําคือพาแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ การรักษาทําได้โดยใช้ยาปฏิชีวนะป้องกันโรคแทรกซ้อนจากแบคทีเรีย รวมทั้งยาลดเสมหะ นอกจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแมวอาจจําเป็นต้องได้รับน้ำเกลือวิตามินต่างๆ เพื่อบํารุงตามความเหมาะสม

การให้อาหารควรให้แมวได้กินอาหารอย่างเพียงพอเพราะหากมีแผลในปากจะทําให้ไม่อยากกินอาหารเองจึงอาจต้องมีการป้อนอาหารและยาให้  นอกจากนี้ต้องดูแลเรื่องความสะอาดด้วย เช่น เช็ดขี้มูกขี้ตาอย่าให้เกรอะกรัง  ทําความสะอาดปากทุกครั้งหลังป้อนอาหาร และควรให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือการนํา แมวที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโรคไปปะปนกับแมวภายนอก หากต้องนําแมวไปฝากเลี้ยงหรือต้องนําแมวไปในที่มีแมวรวมตัวกันมากๆ ต้องมั่นใจว่าแมวของเรามีภูมิคุ้มกันดีพอ ซึ่งทําได้โดยการนําแมวมารับวัคซีนป้องกันโรค
ที่มา : www.dld.go.th



หมายเหตุ Webmaster : L-Lysine มีอยู่ในวิตามินของเด็ก ชนิดน้ำ ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อ หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป สามารถป้อนวิตามินให้กับน้องแมวที่ป่วยเป็นหวัด ครั้งละ 1 ซีซี วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และ ยังสามารถป้อนให้แมวทั่วไป เพื่อเสริมภูมิ โดยป้อนครั้งละ 1 ซีซี วันละ 1 ครั้ง วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ การทำวัคซีน

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม